‘สกศ.’ จัดเสวนาถกวิจัย ‘มรภ.กับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’

‘สกศ.’ จัดเสวนาถกวิจัย ‘มรภ.กับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ ห้องเมย์แฟร์ เอ โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา เรื่อง “มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ว่า หากทิศทางของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ชัดเจนสามารถดำเนินงานไปสู่เป้าหมายตามที่ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 กำหนดไว้ได้ และถ้า มรภ. สามารถผลักดันทำให้จังหวัดและบุคลากรในพื้นที่มีความเข็มแข็ง ประเทศชาติจะขึ้นดีตามไปด้วย

ทั้งนี้ ผมหวังว่า รายงาน เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) วิจัยและจัดทำขึ้น จะเป็นโมเดลที่ดี สามารถพัฒนามหาวิทลัยราชภัฏ และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ต่อไปทาง สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ.​จะรวบรวมข้อเสนอ และข้อคิดเห็นของทุกคน มาเป็นกรอบการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนาชุนชนอย่างยั่งยืนต่อไป

การศึกษา

ด้าน ผศ.ดร.จตุพล ยงศร หัวหน้าภาควิชาการบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวตอนหนึ่งในการนำเสนอ (ร่าง) รายงาน เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ว่า ผู้วิจัยได้รับมอบหมายจาก สกศ. ให้เข้าไปศึกษาว่า เหตุใด มหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) 4 แห่ง คือ มรภ.เชียงใหม่ มรภ.เลย มรภ.นครราชสีมา และ มรภ.สุราษฎร์ธานี ที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกใน THE (Times Higher Education) Impact Rankings 2021

ที่ใช้วัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ(UN) โดยมีจุดมุ่งหมาย และแบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ 1.เข้าไปศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการ 2.ศึกษาการดำเนินงาน 3.พัฒนารูปแบบการดำเนินงาน และ 4.ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.จตุพล กล่าวต่อว่า จากการศึกษาพบว่า มรภ.ทั้ง 4 แห่ง ไม่ได้ทำงานโดยนำอันดับโลกเป็นตัวตั้ง แต่พบว่าการดำเนิงานต่างๆ เป็นงานที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการอยู่แล้ว และการทำงานของมหาวิทยาลัยมีความเข็มแข็งอยู่แล้ว โดยผลการศึกษาในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 พบว่ามรภ. ทั้ง 4 แห่ง มีปัจจัยนำเข้าเหมือนกัน คือ ดำเนินงานตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น น้อมนำพระบรมราโชบาย ร.10 ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ มรภ.ได้ทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม และมหาวิทยาลัยมีต้นทุนกับการทำงานกับสังคม ชุมชน และท้องถิ่นอย่างยาวนาน เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนในพื้นที่

ผศ.ดร.จตุพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนผลการดำเนินการระยะที่ 3 ทีมวิจัยได้สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา และหารือร่วมกับผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ พบแนวทางการดำเนินงานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ มรภ.ทั้ง 4 แห่ง ที่สามารถเข้าไปติดอันดับโลกได้ มีดังนี้ เป้าหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ คือ เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อมีเป้าหมายชัดเจนแล้ว จะนำสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนงาน โดยต้องมุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัย ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เอื้ออำนวย สนับสนุน และแสวงหางบประมาณด้วย ในส่วนของบุคลากรต้อง สอน วิจัย และบริการที่สนองต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังพบนักศึกษา ประชาชน ชุมชน เอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่น มีส่วมร่วมกับภาคีเครือข่าย และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ จะเป็นแนวทางให้ มรภ.อื่นๆ นำไปวางแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ มองว่า มรภ.จะเน้นการพัฒนาด้านภูมิปัญหาท้องถิ่นอย่างเดียวคงไม่พอ ควรหาวิธีการผนวกความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อมาแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วย

“นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้แนวคิดในการทำงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 แนวทาง ดังนี้ 1.จะต้องใช้ศาสตร์ที่หลายหลากทั้งเชิงวิชาการ ทฤษฎี และทักษะ 2.การทำงานในเชิงอาสาสมัครร่วมมือ มีจิตอาสา 3.ต้องมีกลไกที่เป็นระบบ 4.การสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานระดับท้องถิ่น 5.การกำหนดกรอบคุณวุฒิท้องถิ่น 6.การผสานความรู้แบบศาสตร์ทันสมัย เข้ากับเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน และ 7.มรภ.​ต้องทำหน้าที่ผสานความรู้สองกระแส ส่วนการศึกษาระยะที่ 4 ทีมวิจัยมีข้อเสนอแนะ ต่อยุทธศาสตร์ของ มรภ. เช่น วิเคราะห์ความเชี่ยวชาญ และความโดดเด่นทางวิชาการ วิชาชีพที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และเชิงพื้นที่

และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยต้องเลือกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ และการพัฒนาระบบปฏิบัติการตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย พร้อมกับกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการประเมินให้ครอบคลุมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ตรงสภาพจริงของวัตถุประสงค์ เป็นต้น ”ผศ.ดร.จตุพล กล่าว

การศึกษา 13 9 2022

จากนั้นมีการ อภิปราย และระดมความคิดเห็น เรื่อง (ร่าง) รายงาน “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” โดย รศ.ดร.ภาสกร นันทพานิช รองอธิการบดี มรภ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ตนขอตั้งคำถามที่สำคัญในงานวิจัย คือ จะเชื่อมโยงพันธกิจ และยุทธศาสตร์ มรภ. ให้ตอบสนองต่อการดำเนินงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร ทั้งนี้ในส่วนระบบและกลไกที่เอื้อต่อการส่งเสริมการดำเนินงานตามพัทธกิจและยุทธศาสตร์ มรภ.เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนควรเป็นอย่างไร และรูปแบบ และแนวทางการดำเนินงานตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ ของ มรภ.เพื่อการบรรจุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนควรเป็นอย่างไร ทั้ง 3 คำถามเป็นคำถามที่สำคัญ ที่จะต้องการคำตอบ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการ มรภ.ต่อไป

ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จุดเด่นงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้เห็นความสอดคล้องของบริบทและประวัติความเป็นมาของ มรภ. กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนข้อเสนอแนะในทุกมิติ เป็นข้อเสนอแนะที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อ มรภ.ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ และนโยบาย มีการกำหนดแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ งานวิจัยยังสำรวจความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ มิใช่เพียงแค่ตลาดแรงงาน แต่ควรจะหาความต้องการของท้องถิ่นด้วย เพื่อวัดความกว้าหน้าของการทำงาน มรภ.

“ส่วนข้อวิพากษ์​ มี 3 ส่วน ดังนี้ 1.งานชิ้นนี้ มีพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ จึงทำให้ใช้ประโยชน์จากข้อค้นพบจากข้อมูลได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร ถ้ามีทฤษฎีเพิ่มขึ้น จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้มากเพิ่มมากขึ้นด้วย 2. ความไม่ชัดเจนของคำนิยามปฏิบัติการที่สำคัญ คำว่า “เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นคำที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสน และเกิดการใช้คำนี้แบบที่ไม่มีความหมาย เป็นเพียงการแปะลงไปเพื่อให้ทราบว่ากำลังพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไรกันแน่ และ 3.การขาด Triangulate ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วยข้อมูลประเภทอื่นๆ ควรมีข้อมูลประกอบเพิ่มขึ้นเพื่อความชัดเจน มองว่างานวิจัยชิ้นนี้มีประโยชน์ ต่อ มรภ.แน่นอน แต่ควรเพิ่มรายละเอียดเพิ่มเติม และใช้ความรู้แนวคิดทฤษฎีมาปรับข้อเสนอให้มีความจำเพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น” ผศ.ชล กล่าว ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่นี่ >>daitotkdteam.com